บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

IT Infrastructure Management

IT Infrastructure Management ได้แก่การวางแผนการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย
           Network ระบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก ในระบบสารสนเทศ ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Information Super Highway หรือทางด่วนข้อมูล เปรียบได้กับท่อสำหรับการส่งข้อมูล ไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้าท่อมีขนาดใหญ่ ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว สำหรับการวางแผนออกแบบระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลในปัจจุบัน ต้องให้ความสำคัญกับ Bandwidth และการรักษาความ ปลอดภัยของระบบเป็นอันดับแรก รวมไปถึงการวางแผนการเชื่อมต่อเครือข่าย กับภายนอก การใช้ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless Network ) ควรจะต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างแท้จริง ไม่ควรที่จะไปเชื่อผู้ขายมากนัก เพราะจะถูกวางยา โดยหลอกให้ซื้ออุปกรณ์ที่ตกรุ่น หรือไม่ก็เกินความจำเป็น ไม่เหมาะกับขนาดโรงพยาบาล นอกจากนี้ บางครั้งผู้ขายก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง แต่พนักงานขายไม่ได้เป็นผู้ใช้ ไม่มีความเข้าใจในความต้องการของโรงพยาบาล จึงให้คำเสนอแนะที่ไม่ตรงกับความต้องการของโรงพยาบาล เปรียบเหมือนกับการสร้างบ้าน ต้องดูที่ความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก เพราะจะต้องเป็นผู้ที่อยู่อาศัยไปตลอด ส่วนสถาปนิก หรือผู้รับเหมาเสร็จงานแล้วเขาก็ไป 


               Database ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งได้แก่ RDBMS ( Relational Database Management System ) ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ผู้บริหารควรจะพิจารณาเลือก RDBMS ที่เหมาะสมกับโรง พยาบาล เพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว โดยปัจจัยที่ควรจะคำนึงถึงก็คือ ต้องมีความมั่นคงของระบบ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะจะสามารถหาผู้ดูแล ( Database Administrator ) ได้ง่าย สำหรับ RDBMS นี้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ผมไม่แนะนำให้ใช้ Open Source เพราะว่า จากประสบการณ์ของผมพบว่า โปรแกรมพวกนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ยังไม่นิ่ง มีการเปลี่ยน Version เร็วมาก และอาจจะมี Bug ที่รุนแรง ที่ยังไม่รู้จัก เมื่อใช้ไปแล้วมีการสูญหายของข้อมูล จะมีมูลค่าความเสียหายในเรื่องของชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ เป็นอย่างมาก             



Server ได้แก่เครื่อง Server ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้พัฒนาเข้าสู่ยุค 64 Bit แล้ว สำหรับระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) ในปัจจุบันก็มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ก็คือ Unix Base กับ Window Base ส่วนตัวผมแล้วแนะ นำให้ใช้ Open Source เพราะว่ามีความเสถียรมากกว่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก                                        



 Storage ในอดีตการเก็บข้อมูลจะอยู่ใน Hard disk ที่ติดอยู่กับเครื่อง Server แต่ปัจจุบันความต้อง การ Storage ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ PACS ทำให้ต้องมีการแยก Storage ออกมาบริหารจัดการต่างหาก ซึ่งต้องมีการออกแบบ วางแผน และการบริหารจัดการที่ดี ถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีขนาดข้อมูลไม่มาก ก็สามารถที่จะใช้ Storage ที่ติดตั้งภายในเครื่อง Server แต่ควรจะมีการทำเป็น RAID ( Redundant Arrays Of Inexpensive Disks ) เพื่อประกันความ ปลอดภัยของข้อมูล ในกรณีที่มี Hardware Failure ก็อาจจะเพียงพอ ส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลที่มีการวางแผนที่จะนำเอาระบบ PACS มาใช้ ก็ควรจะต้องมีการศึกษา และวางแผน Storage ให้ดี ซึ่งผมขอแนะนำว่า ควรจะต้องพิจารณาใช้ SAN ( Storage Area Network ) หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็น NAS ( Network Attached Storage )              


Security การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ของการให้บริการสารสนเทศขององค์กร ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการออกแบบ และวางแผน Implement Security Policy มีคณะกรรมการ Security Committee คอยกำกับและดูแลว่ามีการปฎิบัติตาม ขั้นตอนที่วางไว้ มีระบบตรวจจับการบุกรุก IDS ( Intrusion Detection System ) ระบบป้องกันเครือข่าย ( Firewall ) ระบบ ป้องกันการบุกรุกโจมตีเครือข่าย IPS ( Intrusion Prevention System ) ระบบป้องกันไวรัส ( Anti Virus ) ระบบ ป้องกัน Spyware รวมถึงการวางแผนมาตรการแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น

ที่มา : http://www.tmi.or.th
http://pontip.blog.mthai.com/2007/07/19/public-1 


มุมมอง เสือเป้ง : ประสบการณ์ด้าน IT 13 ปี 
                      ด้าน Infrastructure ,Server ,Core Switch ,Database 6 ปี

                     ประเทศไทย แบ่งระบบกระจายบริหารเงิน เพื่อสร้างเครือข่าย กระทรวง
                     แต่ละกระทรวงก็ สร้างผลงานตัวเอง  ไม่มีการแชร์ทรัพย์พยากรณ์ที่มีร่วมกัน  ยกตัวอย่างง่ายๆ  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงสาธารณสุข มีการวาง Infrastructure เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ จำนวนโครงข่าย และท่อส่งข้อมูลbandwidth
ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ ใช้ http://www.uni.net.th/UniNet/Thai/about/about1_th.php
บริการที่เรียกว่า ท่อกว้าง และบริการเน็ต  10Gb. 


แต่กระทรวงสาธารณสุข  เครือข่ายที่จะเชื่อมต่อไปทุกอำเภอก็ไม่มี แถมท่อก็พูดแค่ 128-1mb  หน่วยงานในสังกัดก็ต้องเสียค่าเช่าคู่สายเอง เรียกกว่า งบลงทุนน้อยกว่ากันเยอะ  หรือมันไปลงพุงใครก็ไม่่ทราบ


ทั้งๆที่ ระบบงานในส่วนของ วงการ สาธารณสุข สำคัญมากมาย เพราะเกี่ยวกับประชาชนทั่วไปประเทศ ทุกเพศทุกวัย


ล่าสุด เห็นบอกมีการจับมือกันระหว่าง 5 กระทรวง ทำ MOU. ร่วมกัน แต่ก็ยังไม่มีหวี่แหวว  ว่าจะแชร์อะไรกันบ้าง น่าจะเป็นการสร้างภาพ มากกว่า เพราะมันมีเรื่องเงินงบประมาณที่จะต้องมาบริหาร   (แต่ก็น่าจะแชร์ในส่วนที่ผ่านมาได้) อาจจะมีการอ้างอิงในส่วนของการที่จะต้อง ลงทุน ต่อเนื่อง กระทรวงไหน ลุงทุนเยอะแล้ว ไม่่ต้องสมทบอีก นั้นก็อาจจะเป็นสาเหตุข้อหนึ่ง ที่จะทำให้ทุกอย่าง นิ่งไป


ถึงตรงนี้ หลายท่าน อาจจะ งง share infrastructure อะไร ? ง่ายๆ ก็การวางแผนเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คระดับประเทศ โดยโยงสาย Fiber Optic  Node ---+--- Node

http://www.cat.net.th/map/images/catintmap201012.gif   ดูจากภาพจะเห็นว่าอะไรคืออะไรได้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น: